โครงการพัฒนาการจัดบรรยากาศในห้องเรียน

โครงการพัฒนาการจัดบรรยากาศในห้องเรียน

 

หลักการและเหตุผล

                โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของนักเรียน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน เพราะจะทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ห้องเรียนจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าดู น่าเรียน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและเกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากขึ้น

                ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำโครงการจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาการจัดบรรยากาศห้องเรียนโดยการจัดสื่อการเรียนการสอน A-Z และสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวัน ตกแต่งให้มีความสวยงาม ดึงดูดความสนใจ ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก ในห้องเรียนอนุบาล 1/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ส่งผลให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและเกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากขึ้น

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาส่งเสริมการจัดและตกแต่งห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่ดี

2. เพื่อจัดบรรยากาศให้ดึงดูดความสนใจและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก

3. เพื่อเปรียบเทียบ บรรยากาศในชั้นเรียนก่อนและหลังการจัด

4. เพื่อให้เด็กมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้

 

เป้าหมาย

1. เด็กได้เรียนรู้จากสื่อที่นำมาจัดบรรยากาศได้ดีมากขึ้น

2. บรรยากาศในห้องเรียนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีให้แก่เด็ก

3. เด็กได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ระยะเวลาดำเนินการ
                วันที่ 18 – 24 กุมภาพันธ์ 2557

 

วิธีการดำเนินการ

                1. สำรวจ สอบถามครูที่ปรึกษาและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เกี่ยวกับสภาพบรรยากาศในห้องเรียน เพื่อจัดทำสื่อเพิ่มเติมหรือสื่อที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม

                2. วางแผน และเขียนร่างโครงการ เสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

                3. เมื่อโครงการผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว วางแผนและจัดทำสื่อเพื่อนำไปจัดบรรยากาศในห้องเรียน ได้แก่ สื่อ A-Z และ สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวัน

                4. ลงมือดำเนินการปฏิบัติ โดยนำสื่อมาจัดในห้องเรียนและตกแต่งให้สวยงาม น่าสนใจและเหมาะสม ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก

                5. สรุป ประเมินผล และรายงานผลโครงการ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ
                1. นักเรียนชั้นอนุบาล 1/3โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน  19  คน
                2. ครูประจำชั้นอนุบาล 1/3 และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

 

 สถานที่
                โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 

 

งบประมาณ
                รายการจัดซื้ออุปกรณ์

                1. กระดาษสี                                                        100        บาท

                2. กระดาษขาวเทา                                                 50           บาท

                3. อุปกรณ์ทำสื่อของตกแต่งเพิ่มเติม                       200        บาท

 

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ดี การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. บรรยากาศในห้องเรียน ดึงดูดความสนใจและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก

3. ห้องเรียนมีบรรยากาศหลังการจัดที่พัฒนาขึ้นก่อนการจัดบรรยากาศ

4. เด็กมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้

 

การวัดและการประเมินผล                                                                                                                                                                   1.      

             สังเกตโดยใช้แบบสังเกต

              สัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

1. นางสาวอริสา  ล่องจ๋า

2. นางสาวธนพรรณ  นาคสัน

3. นางสาวกมลทิพย์  ทองทิพย์

 

 

ผู้ดำเนินโครงการ

 

……………………………………

(……………………………………………………….)

……………………………………

(……………………………………………………….)

……………………………………

(……………………………………………………….)

 

 

 

 

              ……………………………………                                                         …………………………….

   (……………………………………………………….)                         (………………………………………….)

                    ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ                                                                ตำแหน่ง ครูประจำชั้น อนุบาล 1/                                             โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช                          

การวางแผนคุณภาพการศึกษา การจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา

           

            การวางแผน หมายถึง วิธีการตัดสินใจล่วงหน้าเพื่ออนาคตขององค์การเป็นหน้าที่ของการจัดการในทางเลือกว่าจะให้ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร มีขั้นตอนการดำเนินงานการใช้ทรัพยากรการบริหาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการ ให้ได้มาซึ่งแนวทางหรือแผนงานที่ปฏิบัติ

            การวางแผนได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากภาคเอกชนนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารปัจจัยที่มีอยู่ ให้ถูกใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งต่อมาเป็น การวางแผนระยะยาว และกำหนดนโยบายทางธุรกิจรวมถึง การวางแผนกิจการ และท้ายที่สุดจนถึงปัจจุบันได้มีการบริหารกลยุทธ์ ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาสภาพแวดล้อม การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ และการควบคุมกลยุทธ์

            .กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน โดยใช้ระบบการวางแผนและการบริหาร PMS Model ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ สรุปองค์ประกอบได้ 4 ขั้นตอน คือ

            ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการวางแผน

            ขั้นที่ 2 ขั้นการวางแผน

            ขั้นที่ 3 ขั้นการนำไปปฏิบัติ

            ขั้นที่ 4 ขั้นกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานแผน

แผนกลยุทธิ์ของศูนย์เด็กที่ครูต้องรู้

           การดำเนินงาน  

                กำหนดวิสัยทัศน์

                กำหนดพันธกิจ

                เป้าประสงค์ … ตัวชี้วัด <<(รู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมาย)

การประกันคุณภาพภายใน

                การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรม ตามปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการทางการศึกษา ว่าการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

การประเมินคุณภาพภายนอก

                คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกหรือคุณหมอโรงเรียนมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะนำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง 

ในสถานศึกษา จะทำโครงการ >>> ทำแผนบรรจุแผนงาน ครบรอบปีจะทำการประกันคุณภาพ ” การประกันคุณภาพภายใน” ประเมินทุกปี ปีละ 1 ครั้ง

การประเมินคุณภาพภายนอก 5 ปี ประเมินครั้ง โดยใช้เกณฑ์ของ สมศ. (มีการตั้งคณะกรรมการภายนอกประเมิน)

มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติประกอบไปด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน คือ

               (1) การบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็ก

               (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก            

               (3) คุณภาพเด็ก

มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มี ( 11 มาตรฐาน 51 ตัวบ่งชี้ )

การประเมินภายนอก

          มี 4 มาตรฐาน

                1 การบริหารจัดการ

                2 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                3 ผลการจัดการศึกษา

                4 การประกันคุณภาพภายใน

           ตัวชี้วัด 3 กลุ่ม

                1. ผลการจัดการศึกษา

                2. อัตลักษณ์

                3. มาตรการส่งเสริม

          ตัวบ่งชี้หลักมี 8 ตัว มีย่อยบางตัว เป็น 12

“ปีนี้ ประเมินรอบ 3  2554-2558”

 

,

 

 

 

การบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา

โครงการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษาหมายถึง โครงการที่เป็นการจัดกิจกรรมอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา ให้ผู้เรียนมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม และปรับปรุงสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิพล

วัตถุประสงค์ของการทำโครงการเพื่อพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา 

    1. พัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม

    2. พัฒนาความสามารถของผู้เรียนตามศักยภาพ โดยมุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม

    3.เข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เลือกตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

หลักการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

    1.มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม

    2.จัดให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียนและวัฒธรรมที่ดีงาม

    3. บูรณาการวิชาการกับชีวิตจริง ให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรู้สึกสนุกกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียน

    4.ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ฝึกให้คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ จินตนาการที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง

    5.จำนวนสมาชิกมีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม

    6.มีการกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของสถานศึกษา

    7.ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา ถือเป็นหน้าที่และงาน ประจำโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

    8.ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรทั้งทางภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

    9.มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ขอบข่ายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย กิจกรรมแนะแนวและกิจกรรม นักเรียน ซึ่งสถานศึกษาสามารถแยกหรือบูรณาการไว้ด้วยกัน ก็ได้และสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบและวิธีการโดยมีขอบข่ายดังนี้

    1.เป็นกิจกรรมที่เกื้อกูล ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 8 สาระการเรียนรู้ให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้นในรูปแบบของการปฏิบัติตามโครงการ/โครงงาน ในลักษณะเป็นกระบวนการเชิงบูรณาการโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เป็นพื้นฐาน

    2.เป็นกิจกรรมที่สนองความสนใจ ความต้องถนัด ความต้องการของนักเรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลในลักษณะชมรม ชุมนุม กลุ่มสนใจ เน้นการให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวิชาความรู้ อาชีพ และการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ

    3.เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ สังคมในลักษณะต่างๆ ให้สามารถจัดการกับชีวิตและสังคมได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่านิยมในความดีงาม มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรมตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    เป้าหมายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

    1.ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดความรู้ ความชำนาญ ด้านวิชาการ วิชาชีพและเทคโนโลยี

    2.เห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้และประสบการณ์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และประกอบอาชีพสุจริต

    3.รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีกระบวนการคิดมีทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและมีความสุข

    4.ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง มองเห็นช่องทางในการสร้างงาน อาชีพในอนาคตได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

    5.พัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ ค่านิยมที่ดีในการดำเนินชีวิต เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม

    6.มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ตลอดจนความเป็นระเบียบวินัย คุณธรรมและจริยธรรม

 

จากการที่กลุ่มดิฉันได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ครูประจำชั้น นักศึกษาฝึกประสบการณ์ สังเกต ชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ในชั้นอนุบาล 3/1 เด็กได้มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา คือ ความไม่มีระเบียบวินัยในการเข้าแถว กลุ่มของฉันจึงได้เขียนโครงการพัฒนาพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในการเข้าแถว ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 และนำเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียน หากโครงการผ่านก็จัดทำดำเนินการในขั้นต่อไป

 

Mind Map สรุปย่อเนื้อหา บทที่ 1-7

ในการทำ Mind Map สรุปย่อเนื้อหาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (โปรแกรมทำ Mind Map..) ครั้งนี้ ฉันได้ทำเป็นครั้งแรก ในตอนแรกอาจจะทำไม่ค่อยถูก แต่พอได้ศึกษาวิธีการใช้จากคู่มือในเว็บไซต์ ในยูทูป ถามเพื่อนๆ และฝึกทำก็สามารถทำได้ ทำบ่อยๆ หลายๆ ครั้ง ก็ทำให้เกิดความชำนาญขึ้น มีความรู้ มีทักษะในการทำเพิ่มขึ้น  ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปได้  รวมถึงยังได้ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปอีกด้วย

บทที่ 1 ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ

รูปภาพ

บทที่ 2 การคิดอย่างเป็นระบบ

รูปภาพ

บทที่ 3 ภาวะผู้นำ

รูปภาพ

 บทที่ 4 การทำงานเป็นทีม

รูปภาพ

 บทที่ 5 การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร

รูปภาพ

 บทที่ 6 มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร

รูปภาพ

 บทที่ 7 การติดต่อสื่อสารในองค์กร

รูปภาพ

การบริหารจัดการในห้องเรียน……ห้องเรียนในอนาคต

 

รูปภาพ

ห้องเรียนแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 เป็นที่สนใจในสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลกและขยายตัวมากขึ้น มีการปรับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการมีนวัตกรรม ICT ที่มีคุณสมบัติทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่ (Social Network ) มาสนับสนุนการเรียนรู้และการบริหารจัดการทั้งด้าน วิชาการ บุคคล งบประมาณและการบริหารงานทั่วไป เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กยุคใหม่ด้วยสารสนเทศรอบด้าน โรงเรียนที่มีความพร้อมสูงจัดแหล่งเรียนรู้ด้วยระบบ E-Classroom , E-Learning,E-Library ,E-office,E-StudentและE-Service เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการจัดการห้องเรียน ห้องสมุด การเรียนการสอน และสื่อสังคมสมัยใหม่สามารถยกระดับสู่คุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา

                    ความมุ่งหมายห้องเรียนแห่งอนาคต  Future classroom

ห้องเรียนแห่งอนาคต หมายถึง ระบบห้องเรียนอิเลคทรอนิกส์ที่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ได้ทั่วโลกผ่านทางInternet สามารถจัดการเรื่องเอกสารได้ทุกรูปแบบเช่น word,Excle,File Mutimedia ต่าง ๆผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ

                   ห้องเรียนแห่งอนาคตมีคุณลักษณะที่เป็นห้องเรียนที่สามารถสนับสนุนการใช้สื่อการสอนได้หลากหลายสามารถเชื่อมโยงสื่อการสอนจากห้องเรียนอิเลคทรอนิกส์ E-Classroom สามารถสืบค้น ใช้ซ้ำ ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและพีขึ้นตลอดเวลา เป็นแหล่งสืบค้นความรู้ของนักเรียน สามารถนำสื่อต่าง ๆ ใน เครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่Social Network เช่น Youtube  wiki Facebook  เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย โต๊ะครูอัจฉริยะ กระดานอิเลคทรอนิกส์ เครื่องฉายภาพ projector  กล้องวิดิโอ webcam คอมพิวเตอร์ เครื่องสำรองไฟฟ้า ชุดเครื่องเสียง ลำโพงและโปรแกรม software E-classroom เป็นต้น มีการอำนวยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์  ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและสร้างความรู้โดยเกิดจากความเข้าใจของผู้เรียนเอง เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น (Active Learning) สร้างให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และการเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative Learning) ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในสังคมเครือข่ายผู้เรียนผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจาก Teacher เป็น Facilitator หรือผู้ให้คำแนะนำโดยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent Investigation) จากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ICT เป็นฐาน                                                                                                                                                                                      

            การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกต้อง ก็ต้องอาศัยครูผู้สอนที่เข้าใจและมีความรู้ในด้านการใช้เทคโนโลยี  ครูผู้สอนเป็นผู้สร้างบรรยากาศ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้สอนให้เลือกใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเรื่องที่เรียน  ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่สนใจ   เพราะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็มีทั้งด้านบวกและด้านลบ  จึงจำเป็นต้องรู้จักคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีระบบ คิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด

การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในห้องเรียน การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียน สถานศึกษา และการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

Image

 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS)

             ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง 

สารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
– ระบบสารสนเทศ
– ข้อมูลสารสนเทศ
– ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
– ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร
– องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้ง่านร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ    เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
       1. ระบบประมวลผล ความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือ ไม่สะดวก ช้า และอาจผิดพลาด ปัจจุบันองค์การจึงต้องทำการจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
       2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       3. การจัดการข้อมูล
ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสาร สนเทศโดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบสองประการแรก แต่ผู้ที่สนใจด้านการจัดการข้อมูล (Data/Information Management) จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่สาม ซึ่งมีความเป็นศิลปะ ในการจัดรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ ในการประมวลผล การจัดเก็บ การสื่อสาร และการส่งผ่านสารสนเทศด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนทศ ทั้งภายในและภายนอกระบบ ให้สามารถดำเนินร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ

ข้อมูล และสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน  หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว  อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้   สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ  แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย    สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 

คุณสมบัติของข้อมูล

        การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ  หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์  องค์การจำเป็นต้องลงทุน  ทั้งในด้านตัวข้อมูล  เครื่องจักร  และอุปกรณ์  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ  เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้  และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง  สามารถดำเนินการได้  ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน  ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี  ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน  ดังนี้
            1. ความถูกต้อง  หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก  ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิง  หรือนำเอาไปใช้ประโยชน์  ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ  และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้  โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด  โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่  มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร  การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
            2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้  มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว  ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ  มีการออกแบบระบบการเรียนค้น  และรายงานตามผู้ใช้
            3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย  ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
            4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้  มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
            5. ความสอดคล้อง  ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ  ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ  ดูสภาพการใช้ข้อมูล  ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ

การบริหารจัดการในห้องเรียน

Image

Image

            การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขการจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. ความสะอาด ความปลอดภัย

2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น

3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม

4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่น ฯลฯ

5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น

6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการจัดการชั้นเรียน

1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอน ก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

2. เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการของมันเองและมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่บทเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่มวิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละคนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียน

3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียน สถานศึกษา

โครงการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา หมายถึง โครงการที่เป็นการจัดกิจกรรมอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา ให้ผู้เรียนมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม และปรับปรุงสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิพล

วัตถุประสงค์ของการทำโครงการเพื่อพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา

    1. พัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม

    2. พัฒนาความสามารถของผู้เรียนตามศักยภาพ โดยมุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม

    3.เข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เลือกตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

หลักการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    1.มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม

    2.จัดให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียนและวัฒธรรมที่ดีงาม

    3. บูรณาการวิชาการกับชีวิตจริง ให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรู้สึกสนุกกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียน

    4.ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ฝึกให้คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ จินตนาการที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง

    5.จำนวนสมาชิกมีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม

    6.มีการกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของสถานศึกษา

    7.ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา ถือเป็นหน้าที่และงาน ประจำโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

    8.ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรทั้งทางภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

    9.มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ขอบข่ายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย กิจกรรมแนะแนวและกิจกรรม นักเรียน ซึ่งสถานศึกษาสามารถแยกหรือบูรณาการไว้ด้วยกัน ก็ได้และสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบและวิธีการโดยมีขอบข่ายดังนี้

    1.เป็นกิจกรรมที่เกื้อกูล ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 8 สาระการเรียนรู้ให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้นในรูปแบบของการปฏิบัติตามโครงการ/โครงงาน ในลักษณะเป็นกระบวนการเชิงบูรณาการโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เป็นพื้นฐาน

    2.เป็นกิจกรรมที่สนองความสนใจ ความต้องถนัด ความต้องการของนักเรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลในลักษณะชมรม ชุมนุม กลุ่มสนใจ เน้นการให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวิชาความรู้ อาชีพ และการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ

    3.เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ สังคมในลักษณะต่างๆ ให้สามารถจัดการกับชีวิตและสังคมได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่านิยมในความดีงาม มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรมตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    เป้าหมายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    1.ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดความรู้ ความชำนาญ ด้านวิชาการ วิชาชีพและเทคโนโลยี

    2.เห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้และประสบการณ์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และประกอบอาชีพสุจริต

    3.รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีกระบวนการคิดมีทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและมีความสุข

    4.ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง มองเห็นช่องทางในการสร้างงาน อาชีพในอนาคตได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

    5.พัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ ค่านิยมที่ดีในการดำเนินชีวิต เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม

    6.มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ตลอดจนความเป็นระเบียบวินัย คุณธรรมและจริยธรรม

 

 

 การศึกษาเพื่อชุมชน

Image

    “การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน”   เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของประชาชนในการแสวงหาความรู้ สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักการจัดการความรู้ และการวิจัยชุมชนบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรวม ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์  และทักษะอาชีพ  เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง  มีความเอื้ออาทรต่อกัน  และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาชุมชน

            การพัฒนาชุมชนเป็นวิธีการแก้ปัญหาสังคมที่ประเทศต่าง ๆได้นำมาใช้จนประสบผลสำเร็จมาแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่จะยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพของคนให้เกิดการพัฒนา อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ ดังนี้

                  ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาชุมชนส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

                                   – ช่วยยกระดับการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น

                                   – ช่วยแก้ปัญหาการว่างงาน

                                   – ส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

                                   – ลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรายได้ของประชาชน

                                   – ทำให้ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและประเทศชาติมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

                   ด้านสังคม การนำเอาวิธีการพัฒนาชุมชนเข้าไปใช้ ย่อมทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นดังนี้

                                   – ทำให้ประชาชนรู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น

                                   – ช่วยให้ประชาชนรู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยของครอบครัวดีขึ้น

                                   – สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นและลดช่องว่างความแตกต่างในเรื่องชนชั้นให้น้อยลง

                                   – ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมให้ดีขึ้น

                                   – ทำให้ประชาชนรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนและรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

                   ด้านความมั่นคงของประเทศ ในการพัฒนาชุมชนมีผลทำให้ประชาชนเข้าใจและไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ไม่หวังดีอีกต่อไป ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

                                    – เป็นการก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศในที่สุด

                                    – ทำให้ประชาชนเกิดความรักความเข้าใจในรัฐบาลและประเทศชาติของตนมากยิ่งขึ้น

                                    – เป็นการขจัดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                                    – ทำให้ประชาชนเข้าใจการปกครองแบบประชาธิปไตย

                                    – เป็นการลดและป้องกันการแทรกซึมบ่อนทำลายของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะผู้ไม่ปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมือง โจรแบ่งแยกดินแดน เป็นต้น

 

 

การเรียนรู้อย่างมีพลัง “จักรยานแห่งการเรียนรู้”

       การเรียนรู้อย่างมีพลัง

Learning Project Bicycle Model

Image

                                                          เครื่องมือของการเรียนรู้อย่างมีพลังคือ “จักรยานแห่งการเรียนรู้”

                                                          มีวงล้อประกอบด้วย ๔ ส่วนคือ Define, Plan, Do และ Review  

                                                          วงล้อมี ๒ วง  วงหนึ่งเป้นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู 

                                                          หลักสำคัญคือนักเรียนกับครูต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน อย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน

          “จักรยาน” นี้ คือโมเดลการเรียนรู้แบบ PBL นั่นเอง   โดยจะมีชิ้นส่วนอื่นๆ มาประกอบเข้าเป็น “จักรยานแห่งการเรียนรู้แบบ PBL”  และจะต้องมี “พื้นถนน” ที่มี “ความลาดเอียง” เป็นส่วนประกอบของการเรียนรู้

          หากจะให้การเรียนรู้มีพลัง จดจำไปจนวันตาย ต้องเรียนโดยการทำ project   เป็นการเรียนโดยลงมือทำ  ร่วมมือกันทำเป็นทีม  ในปัญหาที่อยู่ในชีวิตจริง

          ในแต่ละชิ้นส่วน (Define, Plan, Do, Review) ของวงล้อ   มีการเรียนรู้เล็กๆ อยู่เต็มไปหมด หากครูโค้ชดี   การเรียนรู้เหล่านี้แหละที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีพลัง   แต่ตรงกันข้าม หากครูโค้ชไม่เป็น การเรียนรู้ก็จะตื้น ไม่เชื่อมโยง ไม่สนุก ไม่มีพลัง   แต่เราต้องไม่ลืมว่า การเรียนแบบนี้เป็นของใหม่ ไม่มีครูคนไหนโค้ชเป็น   จึงต้องทำไปเรียนรู้ไป   รวมทั้งมี “เครือข่ายเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์” เป็นตัวช่วยการ ลปรร. วิธีโค้ช

          Define คือขั้นตอนการทำให้โครงการมีความชัดเจนร่วมกันในสมาชิกของทีมงาน ร่วมกับครูด้วย  ว่าคำถาม ปัญหา ประเด็น ความท้าทาย ของโครงการ คืออะไร   เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อะไร   

          ในทุกขั้นตอนที่เป็นชิ้นส่วนของวงล้อ สมาชิกของทีมจะระดมความคิด ถกเถียง โต้แย้ง กันอย่างกว้างขวางจริงจัง โดยมีข้อมูลสารสนเทศที่ค้นคว้ามายืนยันและมาทำความเข้าใจร่วมกัน   เพื่อให้ในที่สุดบรรลุข้อตกลงกันได้ว่าจะดำเนินการหรือลงมือทำอย่างไร   เพื่อให้บรรลุผลตามเงื่อนไขข้อจำกัดของทรัพยากร ซึ่งรวมทั้งเวลา

          ครูเพื่อศิษย์ ผู้ทำหน้าที่โค้ช จะคอยให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ จุดประกาย เพื่อสร้างความพอเหมาะพอสมของโครงการ ไม่มีเป้าหมายที่ยากเกินกำลัง และไม่ง่ายเกินไปจนไม่เกิดการเรียนรู้จริงจัง

          Plan คือการวางแผนการทำงานในโครงการ   ครูก็ต้องวางแผน กำหนดทางหนีทีไล่ในการทำหน้าที่โค้ช   รวมทั้งเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำโครงการของนักเรียน   และที่สำคัญ เตรียมคำถามไว้ถามทีมงานเพื่อกระตุ้นให้คิดถึงประเด็นสำคัญบางประเด็นที่นักเรียนมองข้าม   โดยถือหลักว่าครูต้องไม่เข้าไปช่วยเหลือจนทีมงานขาดโอกาสคิดเองแก้ปัญหาเอง   นักเรียนที่เป็นทีมงาน ก็ต้องวางแผนงานของตน แบ่งหน้าที่กัน รับผิดชอบ การประชุมพบปะระหว่างทีมงาน การแลกเปลี่ยนข้อค้นพบ  แลกเปลี่ยนคำถาม  แลกเปลี่ยนวิธีการ   ยิ่งทำความเข้าใจร่วมกันไว้ชัดเจนเพียงใด งานในขั้น Do ก็จะสะดวกเลื่อนไหลดีเพียงนั้น 

          Do คือการลงมือทำ จะพบปัญหาที่ไม่คาดคิดเสมอ  นักเรียนจึงจะได้เรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา การประสานงาน การทำงานร่วมกันเป็นทีม การจัดการความขัดแย้ง ทักษะในการทำงานภายใต้ทรัพยากรจำกัด  ทักษะในการค้นหาความรู้เพิ่มเติม  ทักษะในการทำงานในสภาพที่ทีมงานมีความแตกต่างหลากหลาย  ทักษะการทำงานในสภาพกดดัน  ทักษะในการบันทึกผลงาน  ทักษะในการวิเคราะห์ผล และแลกเปลี่ยนข้อวิเคราะห์กับเพื่อนร่วมทีม เป็นต้น   

          ในขั้นตอน Do นี้ ครูเพื่อศิษย์จะได้มีโอกาสสังเกตทำความรู้จักและเข้าใจศิษย์เป็นรายคน และเรียนรู้หรือฝึกทำหน้าที่เป็น “วาทยากร” และโค้ช

          Review เป็นช่วงที่เกิดการเรียนรู้มาก คือ ทั้งทีมนักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้   ที่ไม่ใช่แค่ทบทวนว่าโครงการได้ผลตามความมุ่งหมายหรือไม่   แต่จะต้องเน้นทบทวนว่างานหรือกิจกรรม หรือพฤติกรรม แต่ละขั้นตอนได้ให้บทเรียนอะไรบ้าง   เอาทั้งขั้นตอนที่เป็นความสำเร็จและความล้มเหลวมาทำความเข้าใจ และกำหนดวิธีทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม   รวมทั้งเอาเหตุการณ์ระทึกใจ หรือเหตุการณ์ที่ภาคภูมิใจ ประทับใจ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   ขั้นตอนนี้เป็นการเรียนรู้แบบ reflection  หรือในภาษา KM เรียกว่า AAR (After Action Review)

          ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้เป็น AAR facilitator ที่เก่ง ทำให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้มาก  และทำให้ศิษย์เชื่อมโยงทักษะการลงมือทำเข้ากับความรู้เชิงทฤษฎีได้   คือให้ศิษย์ได้เรียนรู้ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีนั่นเอง

          ที่จริงมีขั้นตอนที่ ๕ คือการนำเสนอ (Presentation) โครงการต่อชั้นเรียน  เป็นขั้นตอนที่ให้การเรียนรู้ทักษะอีกชุดหนึ่ง ต่อเนื่องกับขั้นตอน Review   เป็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดการทบทวนขั้นตอนของงาน และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้น   เอามานำเสนอในรูปแบบที่เร้าใจ ให้อารมณ์ และให้ความรู้ (ปัญญา)  ทีมงานของนักเรียนอาจสร้างนวัตกรรมในการนำเสนอก็ได้   โดยอาจเขียนเป็นรายงาน และนำเสนอเป็นการรายงานหน้าชั้นโดยมี PowerPoint ประกอบ  หรือจัดทำวีดิทัศน์นำเสนอ   หรือนำเสนอเป็นละคร เป็นต้น

             หากให้น้ำหนักงาน Define, Plan, Do, Review รวมกันเท่ากับ 100  คะแนนน้ำหนักปริมาณงานของแต่ละส่วนจะไม่เท่ากัน   น้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ที่ Do ทั้งนักเรียนและครู

           จักรยานแห่งการเรียนรู้ไม่ได้มีเฉพาะล้อ ๒ ล้อ   ต้องมีโครงรถและที่นั่งสำหรับถีบจำนวนเท่ากับทีมงานและครูอีก ๑ คน  เป็นเครื่องบอกว่าต้องร่วมกัน “ถีบจักรยาน” (ทำงาน)   และต้องมีมือจับเป็นเครื่องมือให้จักรยานไปตรงทาง   มือจับข้างหนึ่งคือคำถาม (Questions)  อีกข้างหนึ่งคือปัญหา (Problems)

          จักรยานแห่งการเรียนรู้มีห้ามล้อเป็นตัวจัดการความเร็วและเวลาของการเรียนรู้   และมีกระดิ่งเป็นสัญญาณเตือนบอกการประเมินผลของโครงการ และของการเรียนรู้

          จักรยานแห่งการเรียนรู้จะไปสู่เป้าหมาย 21st Century Skills ได้ดี ต้องมีพื้นถนนที่ปูแน่นไปด้วยความร่วมมือของทีมงาน   และมีพื้นที่ลาดเอียงพอเหมาะ   พื้นที่ชันเกินไปเปรียบเสมือนคำถามและปัญหาที่ยากเกินไป เด็กเรียนอย่างมีความทุกข์   พื้นที่ลาดเกินไป เปรียบเสมือนคำถามและปัญหาที่ง่ายเกินไป ไม่ท้าทาย และไม่ได้ความรู้เพิ่ม

“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” กับการจัดการศึกษา

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า “เข้าใจ  เข้าถึง และพัฒนา”  ถือว่าเป็นหัวใจของการทำงานเพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในฐานะข้าราชการ  หากพิจารณาแล้วมีความหมายที่ลึกซึ้งนัก กล่าวคือ

เข้าใจ หมายถึง ความเข้าใจแจ่มชัดในประเด็น จุดมุ่งหมาย ทิศทางของงานที่ทำ

เข้าถึง  หมายถึง การเข้าถึงปัจจัย เช่น องค์ความรู้ หลักคิดทฤษฎี แนวทาง ทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ของงานที่กำลังทำ

พัฒนา หมายถึง การลงมือกระทำ และหาทางต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้ดีขึ้น  สิ่งที่ต่อยอดนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ที่เป็นของตน ส่วนนี้ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่จะเปิดทางให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และต่อยอด

ถือว่าเป็นทฤษฎีการพัฒนาสู่ความยั่งยืนที่มีคุณค่ายิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริการจัดการศึกษาในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี  ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติคือครู

“หลายอย่างเปลี่ยน แต่บางอย่างไม่เคยเปลี่ยน”

   การที่มีกระบวนทัศน์หรือแนวคิด ที่ทำจนเคยชินยึดติด ที่ครูไม่เน้นคิดแต่เน้นจำ ไม่เน้นทำแต่เน้นท่อง ไม่เน้นทดลองผิดถูก เน้นแต่ปลูกฝังเชื่อไว ไม่เน้นนำไปใช้ “เรียนชีวิต” แต่หลงติดแยกส่วน “เรียนวิชา”  “เน้นเนื้อหาไม่เน้นกระบวนการเรียนรู้” ครูนักเรียนเรียนเดี่ยวไม่ร่วมมือ  หลักสำคัญที่เราต้องยึดถือปฏิบัติ ในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เหล่านี้คือ ปศพพ.พศ. ที่ต้อง เข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนา

Image

กระบวนทัศน์สำคัญที่สุดที่ต้องเปลี่ยนคือ “เรียนชีวิต ไม่ใช่เรียนวิชา”  โดยพิจารณา 3 อย่าง การพัฒนาการเรียนรู้ 3 ทางที่ต้องเชื่อมโยงสอดคล้องเข้าหากัน ได้แก่ การเรียนการสอนในห้องเรียน กิจกรรมเสริมในโรงเรียนสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และชีวิตจริงนอกโรงเรียน

เพลงการบริหารจัดการโรงเรียน

http://www.youtube.com/watch?v=oL58m8Mm90Q&feature=youtu.be

ในการทำงานนำเสนอในครั้งนี้ ในทีมของเราจะเลือกหัวหน้าทีมหรือผู้นำของทีม เลขา สมาชิก และมีประชุมพบปะสมาชิกทุกคน เพื่อนร่วมตกลงวางแผนการทำงาน เพื่อที่จะดำเนินงานให้สำเร็จ ให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมา ร่วมกันทำงานจนเกิดผลสำเร็จ ในการทำงานร่วมกันครั้งนี้ กว่าจะมีผลงานสำเร็จ ก็ประสบพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคในหลายๆ อย่าง  เช่น

– การพูดจาและตกลงกันไม่ชัดเจน  สื่อสารกันไม่เข้าใจตรงกัน

– ผู้นำต้องบริหารทั้งคน ซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างกัน รวมถึงบริหารงานไปตามขั้นตอน

– ความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่ในที่สุดต้องยอมรับความคิดเห็นส่วนใหญ่

-ใช้อารมณ์มากกว่าการใช้เหตุผลในบางครั้ง

– การนิ่งดูดายโดยปล่อยให้สมาชิกแต่ละคนทำงานโดยมีความคิดเพียงว่างานของตนที่รับผิดชอบเสร็จเรียบร้อยแล้วซึ่งการไม่ช่วยเหลือกันที่เห็นได้อย่างชัดเจนอาจทำให้รู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน จนกลายเป็นความไม่ชอบ

– สมาชิกบางคนไม่เต็มใจให้ความร่วมมือ

แต่ไม่ว่าพวกเราจะพบเจอปัญหาอุปสรรคมากมายสักเพียงใดนั้น แต่การที่เราปรับตนเข้ากับทีม และทำงานร่วมกันได้ร่วมมือกัน มีความสามัคคี ใช้ศักยภาพของทุกคนที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ในที่สุดทีมของพวกเราก็สามารถทำงานจนเกิดผลสำเร็จ และประสบความสำเร็จในการทำงาน มีผลงาน และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่ออกมา

การบริหารจัดการ

Follow the Leader

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ กล่าวสรุปประเด็นที่ได้ คือ

การบริหารจัดการองค์กรมีการจัดตามหลักอย่างหนึ่งคือ กระบวนการจัดการตามหลัก POLC ดังนี้

P ( Planning )                  การวางแผน

O ( Organizing )             การจัดการองค์การ

L  ( Leading )                   การชี้นำ

C  (Controlling )             การควบคุม

การทำงานเป็นทีมพัฒนาทีมให้มีประสิทธิภาพ  มีดังนี้

Form        เริ่มเมื่อคนที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน พบปะพูดคุย แนะนำตัว และตกลงใจก่อตั้งกลุ่ม บทบาทยังไม่ชัดเจนและยังไม่มีผลงาน

Norm       มีการกำหนดกฏเกณฑ์ บรรทัดฐาน (กฏเกณฑ์ควรปราศจากคำว่า “ห้าม” มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันภายในทีม

Storm       ระดมสมอง  สมาชิกของกลุ่มเริ่มแสดงความคิดเห็น เสนอความต้องการ และแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ

Perform   ผลงานที่ออกมา มีผลงานที่ประสบความสำเร็จน่าพอใจ

การดำเนินการจัดการองค์การ จำเป็นจะต้องมีผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีสามารถนำให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสม สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ มีความสามัคคีกัน นำเอาศักยภาพของแต่ละคนออกมาใช้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สื่อสาร เข้าใจกัน มีการกำหนดค่านิยมวัฒนธรรม หรือค่านิยมที่ปฏิบัติร่วมกัน จะทำให้การดำเนินงานสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีในที่สุด