ใบงานที่ 4

ใบงานที่ 4

1.   ให้นักศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่าง หลักการ ทฤษฎีการบริหารจัดการ แต่ละยุค

ตอบ

ยุคที่ 1 ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์/ยุคทฤษฎีสมัยเดิม ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ Frederick W. Taylor, Henri Fayol, Luther H. Gulick ,F. Bobbit Cubberley และ Ward G. Reeder ในการบริหารจัดการจะมีการเน้นกระบวนการบริหารและองค์ประกอบมีโครงสร้างที่แน่นอน มีโครงสร้างที่แน่นอน มีระเบียบแบบแผน มุ่งให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพ ผู้นำมาจากอำนาจหน้าที่ เน้นที่ผู้บริหารเป็นสำคัญ ในองค์การใช้กฎเกณฑ์กฏระเบียบเคร่งครัดมากจนเกินไป เน้นการให้ค่าตอบแทนเป็นสิ่งสำคัญ เน้นคน และ วิธีการปฏิบัติ เพื่อประสิทธิภาพในการผลิต คนต้องทำงานเหมือนเครื่องจักร มองข้ามไม่คำนึงถึงด้านจิตวิทยา ในเรื่องจิตใจ เรื่องความตึงเครียด ความพึงพอใจ ความต้องการ ของผู้ทำงาน

ในยุคที่ 2 ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ ยุคการบริหารมนุษยสัมพันธ์ ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ Mary P. Follet, และ Elton Mayo ในการบริหารจัดการนั้น ผู้นำจะไม่มาจากอำนาจหน้าที่ มาจากความรู้ ความฉลาด มีประสบการณ์และมีการนำจิตวิทยาการบริหารมาใช้ ให้ความสำคัญกับคนงาน สร้าง รักษาความสัมพันธ์อันดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในองค์กร เข้าใจ ทั้งสภาพจิตใจ ให้ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจของคนงาน เงินค่าตอบแทนไม่สำคัญเพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจสำคัญ สร้างแรงจูงใจ ยกย่อง ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีทำงานได้อย่างสบายใจ สนุก มีความสุข  มีการเปลี่ยนวิธีการทำงาน คนงานไม่เคร่งเครียด เกิดความรักสามัคคี ผูกพันกัน การใช้หลักความร่วมมือในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ยอมรับความคิดเห็น ทำงานร่วมกันเป็นทีมเป็นคณะ

ส่วนในยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ Chester I. Barnard และ Douglas Mc. Gragor ได้มีการบริหารจัดการองค์การที่เป็นทางการ มีระบบงาน คนมีความสัมพันธ์มีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน และสนใจถึงพฤติกรรมขององค์การเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง ให้ความสำคัญกับองค์กรหรือหน่วยงานในฐานะเป็นระบบหนึ่งของสังคมและสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีการคิดตัดสินใจ มีการให้กำลังใจและเปิดโอกาสให้ผู้ทำงานสามารถควบคุมตนเอง รับผิดชอบตนเอง ตัดสินใจเองบ้าง ริเริ่มด้วยความสามารถตนเอง จัดการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพิ่มความรับผิดชอบ มีการกระจายอำนาจ บริหารงานกันอย่างเป็นระบบ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2.   ให้นักศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่าง ทฤษฎีภาวะผู้นำ 

ตอบ

แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ

แนวทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงบุคลิกลักษณะของผู้นำนั้นผู้นำจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป ลักษณะของผู้นำมีทั้งผู้นำแบบอัตนิยม แบบเสรีนิยม และแบบประชาธิปไตย ซึ่งผู้นำแบบประชาธิปไตยนี้เป็นแบบที่ดีที่สุด จะมีลักษณะใจกว้าง ถืออำนาจกลุ่มเหนืออำนาจตน ให้กลุ่มมีส่วนร่วมตัดสินใจ รับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งลักษณะประจำตัวของผู้นำที่ควรมีคือ มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว บุคลิกภาพดี จิตใจดี เข้าสังคมได้ดี มีความรู้ความสามารถในหารบริหารและการทำงาน มีความตั้งใจสูง รับผิดชอบ มีความเป็นธรรม มีใจกว้าง มีฐานะทางสังคม มีศิลปะในการนำให้ผู้ตามปฏิบัติตาม

แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม

ในการศึกษาของ Ohio State University กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้นำสามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ 1).ผู้นำเริ่มจากตนเองเป็นหลัก ที่ผู้นำให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ การบังคับบัญชา เน้นบทบาทหน้าที่ตามตำแหน่ง และเน้นผลงานที่เกิดจากการทำงานตามโครงสร้าง 2).ผู้นำคำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก ผู้นำจะให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิก และมีส่วนร่วมในการทำงานของสมาชิก

Blake และMouton ได้สร้างตาราง 2 มิติ โดยให้แกนนอนแทนผู้นำที่มุ่งผลงาน และแกนตั้งแทนผู้นำที่มุ่งคน ซึ่งผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ผู้นำที่มุ่งทั้งงานและคน

แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของ Hersey – Blanchard

พฤติกรรมผู้นำควรเปลี่ยนแปลงตามความพร้อมของพนักงานในการทำงาน ผู้นำอิสระจะมีพฤติกรรมที่มุ่งสร้างโครงสร้าง และพฤติกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์ และอธิบายว่า ภาวะผู้นำแบบต่างๆ ประกอบกับความพร้อมของสมาชิกทำให้เกิดรูปแบบของการทำงานของผู้นำ 4 รูปแบบ คือ การบอกกล่าว(Telling) การนำเสนอความคิด(Selling) การมีส่วนร่วม(Participation) และการมอบหมายงาน(Delegation)

แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป/สมัยใหม่

จะเป็นภาวะผู้นำที่อยู่เหนือการนำในระดับปกติประจำวัน ภาวะผู้นำการปฏิรูปจะเกิดขึ้นเมื่อผู้นำเริ่มปรับความคิดเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้ตามให้กว้างขึ้นและยกระดับขึ้นโดยการให้เกิดความตระหนักถึงจุดประสงค์ และวิสัยทัศน์พันธกิจของกลุ่ม และพยายามทำให้ผู้ตามสามารถเข้ากันได้เพื่อจะได้ยกระดับประโยชน์ส่วนตนให้เป็นประโยชน์ของกลุ่ม ภาวะผู้นำการปฏิรูป ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านความสามารถพิเศษ  ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการรู้สถานการณ์อย่างชาญฉลาด และ ด้านการรู้จักพิจารณารายบุคคล

การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร การติดต่อสื่อสารในองค์กร

จากการที่ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนผ่านการนำเสนอจาก ppt. วีดีโอ รวมถึงจัดกิจกรรมในชั้นเรียนต่างๆ วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2556 ในเรื่องการทำงานเป็นทีม  การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร  มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร การติดต่อสื่อสารในองค์กร  กล่าวสรุปได้ว่า

การทำงานเป็นทีม

Image

การทำงานเป็นทีม หมายถึง  การที่บุคคลหลายคนทำงานร่วมกันโดยมีความพึงพอใจในการทำงานนั้น เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ

4 ขั้นตอนในการพัฒนากลุ่ม/ทีมงาน

1.การรวมตัว  (Forming)  เป็นการรวมคน  รวมความคิด  รวมความเข้าใจ ในจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

2.การปลุกเร้า (Storming)

3. การสร้างบรรทัดฐานของทีม (Norming)

4. การทำงานร่วมกัน (Performing)

5 ขั้นตอนการพัฒนาการทำงานของกลุ่ม/ทีมงาน

1. ขั้นก่อตั้ง (Forming) เริ่มเมื่อคนที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน พบปะพูดคุย แนะนำตัว และตกลงใจก่อตั้งกลุ่ม บทบาทยังไม่ชัดเจนและยังไม่มีผลงาน

2. ขั้นปะทะ (Storming) สมาชิกของกลุ่มเริ่มแสดงความคิดเห็น เสนอความต้องการ และแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งจะพบว่ามีความแตกต่างทางความคิด มีความขัดแย้งเกิดขึ้น บางครั้งอาจรุนแรงจนกลุ่มต้องสลายตัว หรือมีสมาชิกบางคนออกไปจากกลุ่ม

3.ขั้นลงตัว (Norming) เริ่มมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิก มีการสร้างเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และค่านิยมร่วม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างอิสระ ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการทำงาน ได้ผลงานในระยะเริ่มต้น

4.ขั้นได้งาน (Performing) บทบาทของสมาชิกมีความชัดเจนสัมพันธภาพมั่นคงยิ่งขึ้น ใช้ข้อมูลและเหตุผลในการทำงาน มีการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง มีผลงานที่ประสบความสำเร็จน่าพอใจ

5.ขั้นลาจาก (Separating) เมื่อภาระกิจของกลุ่มสิ้นสุดลงสมาชิกจะต้องแยกย้ายจากกัน มักจะเกิดความอาลัยรัก การแสดงความเสียใจที่ต้องจากกัน มีการร่ำลา และคาดหวังว่าจะได้พบและร่วมกันทำงานในโอกาสต่อไป

บางครั้งกลุ่มอาจยังไม่จบสิ้นการทำงานร่วมกัน โดยมีการเสริมภาระกิจเดิมต่อเนื่องหรือต่อยอดเพื่อผลงานที่สูงขึ้น หรือร่วมกันทำภาระกิจใหม่ จะเกิดขั้นตอนขั้นปรับทีม (Reforming) มีสมาชิกบางคนออกไปจากทีม น าสมาชิกใหม่เข้ามาเสริมทีม และปรับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกใหม่

การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร

images (4)

วัฒนธรรม มาจากคำว่า

วัฒน คือ สิ่งที่ดีงาม

ธรรม สิ่งที่พึงปฏิบัติ

                   การเรียนรู้วัฒนธรรมต้องปรับปรุงกายภาพ (การแต่งกาย ภาษา  อาหาร) และสูงกว่ากายภาพคือ ค่านิยม (คุณค่าที่ดีงามที่พึงปฏิบัติร่วมกัน ปฏิบัติเป็นนิสัย อุปนิสัย

วัฒนธรรมสถานศึกษา

เป็นวิถีแห่งการดำเนินงานของสถานศึกษา ที่มีการถ่ายทอดให้สมาชิก แบ่งได้เป็นหลายลักษณะ ได้แก่ วัฒนธรรมที่สามารถสัมผัสและสังเกตได้ ประกอบด้วยวัฒนธรรมด้านวัตถุ คำพูด ระเบียบปฏิบัติ พิธีการ และสัญลักษณ์อื่นๆ และวัฒนธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ บรรทัดฐาน และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้

วัฒนธรรมในโรงเรียน

เมื่อเรามาโรงเรียน  เราต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น  เช่น  เพื่อนนักเรียน  คุณครู  พ่อค้าแม่ค้า  ภารโรง  โรงเรียนจึงมีกฎระเบียบที่นักเรียนทุกคนต้องปฏิบัติตามเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย

กฎระเบียบของโรงเรียน  เช่น

–  แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

–  มาให้ทันเวลาโรงเรียนเข้าแถว

–  รักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียนไม่ให้ชำรุดเสียหาย

–  ช่วยกันรักษาความสะอาดภายในห้องเรียน

นอกจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนแล้ว  เมื่ออยู่โรงเรียนนักเรียนต้องรู้จักดูแลช่วยเหลือตนเอง  เพราะคุณครูไม่สามารถดูแลเราได้อย่างทั่วถึง  เนื่องจากคุณครูต้องดูแลนักเรียนเป็นจำนวนมาก

วัฒนธรรมในชั้นเรียน

เป็นสิ่งที่ปฏิบัติในชั้นเรียน และต้องกำหนดในเชิงบวก เช่น เราต้องช่วยกันรักษาความสะอาดในห้องเรียน ถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องเรียน เป็นต้น

มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร

images (3)

                มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ กลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม เพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มรวมไปถึง วิธีการจูงใจ และประสานความต้องการ ของบุคคล และกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร  ทำได้ดังนี้

1.มีความเข้าใจเป้าหมายขององค์กรอย่างถูกต้อง ช่วยให้ความสัมพันธ์ในองค์กรราบรื่น

2.ต้องรู้จักตนเองและคนอื่นมองเราอย่างไร

3.มีความทะเยอทะยาน จะช่วยให้มีความก้าวหน้า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.สร้างและบริหารเสน่ห์ในตนเอง มีวิธีการดังนี้

-อย่าพูดถึงแต่เรื่องของตนเอง

-รู้จักชมผู้อื่นบ้าง

-รับฟังความคิดของผู้อื่น

-ขอร้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือ ควรใช้ประโยคคำถามมากกว่าคำสั่ง

5.ทำงานเป็น โดย

-รู้จักช่วยเหลือตนตามโอกาส

-รักและรับผิดชอบงานที่ทำ มีความสุขในการทำงาน

-อย่าปฎิเสธก่อนที่จะได้พยายาม

-รู้จักคิดสร้างงาน

6.รู้จักให้ข่าวสารและข้อเท็จจริง ควรให้ข้อมูลหรือการแสดงความคิดเห็นตามโอกาส

7.รู้จักเกรงใจ

-เกรงใจในการใช้เวลา เช่น โทรศัพท์

-เกรงใจในการใช้คำพูด พูดสุภาพ ชม

-เกรงใจในการขอ ไม่ขอพร่ำพรื่อ รู้จักเลือกบุคคล เวลา สถานที่ โอกาส

8.ต้องเป็นคนที่รักตนเองแต่ไม่หลงตนเอง มีวิธีปฏิบัติดังนี้

-พยายามค้นหาสิ่งที่ดีในตัวเราและรักษาสิ่งดีนั้นไว้

-ควรกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของตนเองไว้ให้สูง

-ควรจะคาดหวังผลงานของผู้อื่นตามความเหมาะสมแห่งศักยภาพของเขา

.-หลีกเลี่ยงการเฝ้าจับผิดในพฤติกรรมของผู้อื่น

9.ต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ดีเสมอ มีวิธีปฏิบัติดังนี้

-รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารและออกกำลังกาย

-ทำใจให้กว้าง มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น

-มองโลกในแง่ดี

-เป็นคนที่น่ารักและมีอารมณ์ร่วมกับผู้อื่นได้ตามความเหมาะสม

-รู้จักวางตัวตามบทบาทที่บ้านและที่ทำงานตามความเหมาะสม

10.รู้จักใช้บันได 6 ขั้นเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร

-I admiit if.I make mistake : ยอมรับผิด ถ้าเราผิด

-You did a good job : คุณทำดีแล้ว (ชมเมื่อคนอื่นทำดี)

-What do you think : รับฟังความคิดเห็น

-I like it :แสดงความเห็นด้วย (หากเห็นด้วย)

-Thank you : พูดขอบคุณผู้อื่นทุกโอกาสที่สมควร

-We  :เรา  การถือเป็นพวกเดียวกัน

ถ้าหากคนในองค์กรทุกคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ ทำให้การทำงานราบรื่น เป็นไปในทางที่ดี ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ช่วยเหลือกันมากขึ้น มีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน

 

การติดต่อสื่อสารในองค์กร

intrane3

              การสื่อสาร คือ การถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร และเรื่องราวต่าง ๆ จากผู้ส่งสารไปสู่ผู้รับสารโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ในสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ จนเกิดการเรียนรู้ความหมายในสิ่งที่ถ่ายทอดร่วมกันและตอบสนองต่อกันได้ตรงตามเจตนาทั้งสองฝ่าย

ภายในองค์กรการสื่อสารระหว่างกันเป็นสิ่งจำเป็นมาก ผู้บริหาร และผู้ร่วมงานต้องมีการติดต่อสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการติดต่อสื่อสาร

1)  เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร

2) เพื่อกระตุ้นและจูงใจ

3) เพื่อประเมินผลการทำงาน

4) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ

5) เพื่อวินิจฉัยสั่งการ

 

 

ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ การคิดอย่างเป็นระบบ ภาวะผู้นำทางการศึกษา

รายวิชาการบริหารจัดการโรงเรียน ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำเสนอ ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้ความรู้ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1.     ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ

ความหมายของการบริหารจัดการ

         Mary Parker Follett “ การบริหารการจัดการเป็นเทคนิคการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น”

         George R.Terry “ การบริหารการจัดการ เป็นกระบวนการของการวางแผนการจัดองค์การ การ

กระตุ้นและการควบคุมให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน โดยใช้ทรัพยากรบุคคลและอื่นๆ ”

          James A.F.Stoner “ การจัดการคือ กระบวนการ (Process) ของการวางแผน (Planning) การ

จัดองค์การ (Organization) การสั่งการ (Leading) และการควบคุม (Controlling) ความพยายามของสมาชิกในองค์การและการใช้ทรัพย์กรต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การกำหนดไว้ ”

          Luther Gulick และ Lymdall Urwick ได้กำหนดหน้าที่ของผู้บริหารในการจัดการไว้ 7

ประการด้วยกันคือ

P = Planning การวางแผน

O = Organizing การจัดองค์การ

S = Staffing การจัดการคนเข้าทำงาน

D = Directing การอำนวยการ

CO = Co-ordinating การประสานงาน

R = Reporting การรายงาน

B = Budgeting งบประมาณ

แนวความคิดการบริหารที่เป็นหลักเกณฑ์และมนุษย์สัมพันธ์เปรียบเทียบ

1. แนวคิดก่อนยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์( Pre– Scientific Management )

2. แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์( Scientific Management )

          Frederich W.Taylor ได้รับการยอกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์หรือบิดาของ

วิธีการจัดการ เชื่อว่า การบริหารที่ดีต้องมีหลักเกณฑ์ การทำงานไม่ได้เป็นไปตามยะถากรรม

          Henri J. Fayol  มีแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหาร  มุ่งที่ผู้บริหาร กำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารของผู้บริหาร

3. แนวคิดการจัดการยุคมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation )

4. แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ ( Modern Management )

 

2.      การคิดอย่างเป็นระบบ

เป็นการคิดในลักษณะองค์รวม  ต้องมีการดูองค์รวมก่อน

หมวกแห่งความคิด 6 ใบ หรือการคิด 6 ด้าน ประกอบด้วย

• หมวกสีขาว หมายถึงข้อมูลข่าวสาร

• หมวกสีแดง หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก

• หมวกสีดำ หมายถึงการตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย

• หมวกสีเหลือง หมายถึงการมองในแง่ดีเต็มไปด้วยความหวัง

• หมวกสีเขียว หมายถึงการ คิดอย่างสร้างสรรค์

• หมวกสีฟ้า หมายถึงการสามารถควบคุมความคิดทั้งหมดให้มองเห็นภาพรวมของการคิด

เวลามองคนดูคนให้ดูว่าเขาสวมหมวกใบไหน…..

เวลามองคนให้มองครบทั้ง 6 เหรียญ เป็นการพิจารณาคุณค่าของคน……….

The Six Value Medals “เหรียญแห่งคุณค่าทั้งหกรูปแบบ”

 

รูปภาพ
แนวคิดของเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน “เหรียญแห่งคุณค่าทั้งหกรูปแบบ” ซึ่งมีกรอบแนวคิดนี้ประกอบด้วยปัจจัย

6 ประการ ได้แก่

  • เหรียญทองคำ เป็นคูณค่าที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์
  • เหรียญเงิน เป็นคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
  • เหรียญโลหะ เป็นคุณค่าในเชิงคุณภาพ
  • เหรียญแก้ว เป็นคุณค่าในแง่ความคิดสร้างสรรค์
  • เหรียญไม้ เป็นคุณค่าในเชิงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา
  • เหรียญทองเหลือง เป็นคุณค่าในแง่การรับรู้

 เมื่อเราตัดสินใจโดยพิจารณาผลกระทบในแง่ต่างๆ ตามกรอบความคิดนี้ทีละด้าน จะทำความคิดเรามีระบบ รอบคอบ ให้ความสำคัญกับทุกด้าน ทำให้การตัดสินใจของเราก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 3.    ภาวะผู้นำทางการศึกษา

             กิจกรรมสำหรับเรื่องนี้ในวันนี้  มีการได้สะท้อนความคิดจากการดูวิดีโอเกี่ยวกับผู้นำมดในการนำทีมที่ดีในการนำมดตัวอื่นๆ ให้ประสบความสำเร็จร่วมกัน ได้ฝึกภาวะการเป็นผู้นำ และเป็นผู้ตาม เช่น การเข้าแถว การออกลังกาย การทำงานร่วมกัน

ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ใช้ปัญญาในการชี้นำเพื่อเป็นและต้นแบบที่ดีแก่ผู้อื่นหรือสังคม

ภาวะผู้นำ หมายถึง สภาพหรือลักษณะที่แสดงออกของผู้นำ ซึ่งเป็นผลรวมของบุคลิกภาพ เช่นลักษณะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคมและมนุษยสัมพันธ์ต่อบุคคลอิ่นเป็นต้น

ผู้นำทางการศึกษา หมายถึงบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถใช้ปัญญาชี้นำ และเป็นต้นแบบที่ดีในด้านการศึกษาให้แก้ผู้ตาม

บทบาทของผู้นำทางการศึกษา

 1. จะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรมเป็นผู้นำทางปัญญา รอบรู้ด้านใดด้านหนึ่งชัดเจน  อาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ดีในอาชีพ

 2. ต้องเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นตัวแบบ ตัวอย่างที่ดีผู้นำจึงต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ผู้นำต้องเป็นผู้ยอมรับจากผู้อื่น

 3. ต้องเป็นนักพัฒนา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเอง เป็นนักพัฒนา มีความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี

 4. บทบาทในเชิงบริหาร วิชาการ แก้ปัญหาได้

 5. บทบาทในการเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด อารมณ์มั่นคง มีความฉลาด มีอารมณ์ดี และมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง

บทบาทของผู้นำยุคใหม่

   บทบาทของผู้นำเป็นการแสดงออกโดยอิสระที่มีผลดีต่อผู้อื่นหรือสังคม

  1.เป็นผู้ชี้นำให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม    

  2.เป็นผู้จูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามตัวแบบหรือตัวอย่างที่ดีได้

  3.เป็นผู้พัฒนาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่พึงประสงค์ขององค์การหรือสังคม

 

ผู้เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะสำคัญอย่างไร

ทักษะที่ควรมี
• ทักษะการเรียนรู้
• ทักษะการใช้ชีวิตที่ดี
ทักษะที่จำเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1. ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ (Life skill and career skill) คือ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริ่เริ่มสร้างและเป็นของตัวเอง ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบ ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning skill and Innovation) คือ ความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ การคิดอย่างมิจารณญาณและการแก้ปัญหา
3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และ เทคโนโลยี (Information and Technology skill) คือ การใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อมีการสร้างการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ผู้เรียนจะเกิดทักษะอีกหลายๆทักษะตามมา

ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรมีคุณลักษณะเป็นอย่างไร

ลักษณะของห้องเรียนจะต้องเป็นห้องเรียนแบบ network สามารถเรียนรู้โดยไม่มีกำพงขีดกั้น  มีอุปกรณ์ดิจิตอลสามารถเรียนรู้ผ่านได้ เรียนรู้จากโลกที่เป็นจริง ห้องเรียนที่สามารถอยู่กับผู้อื่น คนสามารถพบปะสัมผัสได้ เป็นห้องเรียนที่เราสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ได้ด้วยตนเอง สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา 

              ห้องเรียนแบบกลับด้าน จะเป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนโดยที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการบ้านที่ได้รับผ่านการเรียนด้วยตนเองจากสื่อวิดีทัศน์ หรือสื่อเทคโนโลยีต่างๆ นอกชั้นเรียนหรือที่บ้าน ส่วนการเรียนในชั้นปกตินั้นจะเป็นการเรียนแบบสืบค้นหาความรู้ที่ได้รับร่วมกันกับเพื่อนร่วมชั้น โดยมีครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือชี้แนะ และอาจจะมีการจัดในลักษณะของห้องเรียนเสมือนจริงด้วย

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไร

องค์ประกอบในโลกเปรียบเสมือนน้ำผึ้ง  ผู้เรียนควรมีโอกาสได้จับ ได้สัมผัส ได้ชิม ได้กิน

กล่าวได้ว่าผู้เรียนควรได้มีการออกแบบการเรียนด้วยตนเอง  ได้เห็น ได้สัมผัส ได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติ ด้วยตนเอง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต  ให้ผู้เรียนเป็นนักแสงหาค้นคว้าหาข้อมูล นักสร้างสรรค์ สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา จากการใช้ความรู้ ทักษะ  สื่อ เทคโนโลยี นักสื่อสารวัฒนธรรม  ได้มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมมือโดยไม่มีกรอบ ทำงานโดยมีเป้าหมาย เป็นผู้นำผู้ตามที่ดี สามารถสร้างองค์ความรู้และทักษะด้วยตนเอง และสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

เสียงกู่จากครูใหญ่

 

http://www.youtube.com/watch?v=PfUYBb1gZoA

ใบงานที่ 3

ชื่อ นางสาวอริสา นามสกุล ล่องจ๋า รหัสประจาตัว 5411101001

คำชี้แจง ศึกษากรณีศึกษาจากวีดิทัศน์เรื่อง “เสียงกู่จากครูใหญ่” แล้วตอบคำถามต่อไปนี

ข้อ 1.จากวีดิทัศน์ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน โปรดตอบคาถาม 1.1-1.6 ต่อไปนี้

1.1   นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน

ตอบ  การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นกระบวนการของการจัดระบบระเบียบ และนำกิจการของห้องเรียนให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างและดูแลเอาใจใส่บรรยากาศแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อให้การจัดการเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมายทางการศึกษา การบริหารจัดการในชั้นเรียนนั้นคุณครูหรือผู้สอนจะต้องสำรวจสภาพแวดล้อมห้องเรียน  มีการวางแผน สร้างกำลังใจ เข้าใจผู้เรียนก่อนการดำเนินการสอน  เพื่อให้สามารถพัฒนาได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม คุณครูผู้สอนควรมีสร้างบรรยากาศที่มีความคุ้นเคยเป็นกันเอง ให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลาย  อยากที่จะเรียนรู้  เมื่อผู้เรียนและผู้สอนมีความเป็นกันเองแล้ว  ควรสร้างข้อตกลงในการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนมีความเป็นระบบ  และสามารถพัฒนาการเรียนได้อย่างตรงเป้าหมาย  มีสร้างแรงจูงใจในการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ อาจจะให้คะแนน รางวัล เป็นการเสริมแรงในทางบวก

1.2   บริบทของการบริหารจัดการในชั้นเรียนมีอะไรบ้าง

ตอบ การสำรวจสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกชั้นเรียน ความต้องการของผู้เรียนในการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย  มีการวางแผนก่อนการทำงานอย่างเป็นระบบขั้นตอน จัดบรรยากาศชั้นเรียนที่น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจ สร้างแรงจูงใจในการเรียน  มีการประชุมปรึกษาหารือระหว่างกัน เข้าใจยอมรับ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีการสรุปผลประเมินผล ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง นำข้อบกพร่องไปปรับปรุงแก้ไขและมีการพัฒนาให้ดีขึ้น

1.3   ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารจัดการในชั้นเรียนคืออะไร

ตอบ ความพร้อมของสถานศึกษา ของครู และนักเรียน จุดมุ่งหมายต้องชัดเจน ผู้นำมีภาวะผู้นำที่ดี บุคลากรในทีมจะต้องเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในการทำงาน มีส่วนร่วมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความสามารถในการแก้ปัญหาใช้หลักความร่วมมือร่วมใจ  การประสานงาน คำนึงถึงบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดึงดูดความสนใจ สร้างแรงจูงใจและพลังขับเคลื่อนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเข้าใจในสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้  และเข้าใจผู้เรียน  มีการวางแผนพัฒนาผู้เรียนให้ตรงกับจุดประสงค์ที่วางไว้  และสามรถพัฒนาผู้เรียนได้เป้าหมาย และผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชีวิต

1.4   ครูใหญ่มีหลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือระบบ หรือกระบวนการการบริหารจัดการในชั้นเรียนอย่างไรบ้าง

ตอบ มีการทำงานโดยการวางแผน มีการทำงานเป็นระบบ  มีการประชุมร่วมกันเพื่อคิดหาวิธีและแนวทางพัฒนา มีการตั้งคำขวัญ “การทำงานหนักคือดอกไม้ของชีวิต”  เพื่อเป็นแรงผลักดันในการพัฒนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   เข้าใจและยอมรับ สร้างแรงจูงใจ ไม่เพียงท่านจะพัฒนาในเรียนในโรงเรียน แต่พัฒนาชุมชนควบคู่กันไป มีการเรียนการสอนที่สามารถสร้างอาชีพและรายได้เสริมให้แก่นักเรียนและครอบครัว จนเป็นชมชนที่มีการพัฒนา ผู้คนมีคุณภาพที่ดีขึ้น

1.5   เป้าประสงค์ของการบริหารจัดการในชั้นเรียนคืออะไร

ตอบ เป็นช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองได้เพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน

1.6   บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากกรณีศึกษา สามารถนาไปประยุกต์ใช้ ในการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร

ตอบ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และมีเจตคติที่ดีในการเรียน มีความสุขในการเรียน หากมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้ถูกต้อง เหมาะสม สามารถยืดหยุ่นได้ ให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้และมีความสุขกับการเรียน การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และต่อยอดความคิด ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตนเอง สามารถนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้ไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเองอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ข้อ 2. สภาพชุมชนก่อนและช่วงแรกๆ ที่มีครูใหญ่คนนี้เขามาในพื้นที่ ชุมชนมีสภาพเป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้าง สาเหตุเป็นเพราะอะไร

ตอบ ในพื้นที่ชุมชนมีสภาพเป็นพื้นที่ที่ยังด้อยพัฒนาอยู่  อยู่ห่างไกลความเจริญ  คนในชุมชน อยู่กันอย่างอดอยาก ยากจน   เกิดความเห็นแก่ตัว  ตัวใครตัวมัน ใช้ชีวิตโดยไม่มีจุดหมาย ไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะคิดว่าดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องมีความรู้

ข้อ 3. คน หรือชุมชนมีการต่อต้านอย่างไรบ้างในช่วงแรก

ตอบ คนในชุมชนไม่ศรัทธา ไม่ค่อยยอมรับในตัวครูใหญ่  ไม่ให้ความร่วมมือในการช่วยกันสร้างโรงเรียนเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่หน้าที่ของพวกเขา

ข้อ 4. ครูใหญ่มีวิธีการเอาชนะพลังต่อต้าน หรือภาวะหลงตน (Complacency) ของคนในชมุชนอย่างไรบ้าง

ตอบ ครูใหญ่ไม่โกรธไม่ท้อใจ  ลงมือสร้างโรงเรียนคนเดียวไม่ร้องขอความช่วยเหลือจากใครด้วยความตั้งใจแน่วแน่ แม้เจออุปสรรคก็ไม่ท้อถอย และใช้การทำงานนี้ในการจูงใจชาวบ้านมาร่วมมือกับท่านให้จงได้  โดยท่านถือหลักทำงานอยู่ว่า   พึ่งตนเองเสียก่อนแล้วสวรรค์จะช่วย  และเมื่อคนในชุมชนเห็นถึงความตั้งใจพยายามจึงให้การช่วยเหลือในที่สุด

ข้อ 5. ครูใหญ่ท่านนี้ มีการจัดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมที่เขาทาประกอบการอธิบาย

ตอบ เมื่อครูใหญ่ได้มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ มีการคิดที่จะทำงานให้เป็นระบบ สร้างแรงจูงใจ เป็นผู้นำในการให้ทุกคนมีการประชุมครู และสร้างวิสัยทัศน์คือ “ การทำงานหนักเป็นดอกไม้ของชีวิต” ต่อมาให้ได้ร่วมมือกันด้วยความสามัคคี เสียสละ และมีการตกลงร่วมกันที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ร่วมกัน และพัฒนาสิ่งอื่นเพิ่ม มีการแบ่งงานแบ่งหน้าที่กันทำ ให้ทุกคนได้ลงมือปฏิบัติกันด้วยตนเอง มีการพูดคุยติดต่อ ร่วมมือกันและมีการต่อยอด และได้คิดพัฒนาความเจริญขึ้นต่อไป อย่างเช่น ครูใหญ่เป็นผู้นำในการนำประชุมทุกคนร่วมกันสร้างโรงเรียน  มีการวางแฟนต่อยอดพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น มีการเลี้ยงไก่  นำผลสำเร็จที่ได้ไปต่อยอดพัฒนา เป็นเลี้ยงผึ้ง  เลี้ยงวัว มีการใช้กลยุทธ์  สร้างแรงจูงใจโดยการให้คะแนน ให้เด็กเห็นถึงความสำคัญ และการปลูกสวนผัก เพื่อไว้กินในฤดูหนาว โดยใช้ประโยชน์จากขี้ไก่มาเป็นปุ๋ย  เมื่อได้ผลดีก็จะมีการนำไปพัฒนาซื้อสิ่งที่จำเป็น ซึ่งทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ข้อ 6. นักศึกษาคิดว่า ชุมชน เกิดการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง (ด้านโครงสร้างชุมชน ด้านบุคลากรในชุมชน ด้านกระบวนการทางาน ด้านวัฒนธรรมองค์การ) จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย

ตอบ         ด้านโครงสร้างชุมชนครูใหญ่ได้วางพื้นฐานเศรษฐกิจของชุมชน จัดหางานให้คนในชุมในมีรายได้พึ่งตนเองได้  มีความเป็นอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คนในชุมชนมีความสามัคคี รักใคร่ ปรองดองกัน  ซึ่งทำให้คนในชุมชนสามรถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข เช่นทุกคนในชุมชนสามารถพึ่งตนเอง โดยมีการศึกษามีงาน มีรายได้ มีความรู้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีชุมชนยั่งยืน

ด้านบุคลากรในชุมชน  ครูใหญ่เป็นผู้นำ และให้ครู นักเรียน คนในชุมชน ได้ร่วมมือกัน โดยให้ความรู้ ประสบการณ์มีคุณธรรม  เพื่อนำสิ่งที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เช่น  การให้ความรู้ การสอน ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ และทำงานร่วมกัน  มีความรู้ ประสบการณ์

ด้านกระบวนการทำงาน  มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ  สังเกต  การวางแผนประชุมก่อนการทำงาน  และการลงมือด้วยความตั้งใจ แน่วแน่   สร้างความร่วมมือ ช่วยเหลือกันทำงาน  พัฒนา เช่น การสร้างโรงเรียน

ด้านวัฒนธรรมองค์การ  ในการอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกัน ต้องมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ที่ถูกต้อง พูดคุย สื่อสาร แบ่งปัน เป็นหนึ่งเดียว เช่นการช่วยเหลือ เกื้อกูลในการเลี้ยงสัตว์ ผักแบ่งปัน กันและกัน

ข้อ 7. นักศึกษาคิดว่าครูใหญ่คนนี้ เขาเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือไม่ เพราะอะไร จงอธิบายถึงบทบาทหรือพฤติกรรมของครูใหญ่ท่านนี้พร้อมยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย

ตอบ เป็น  เพราะท่านนี้เป็นนักพัฒนา มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่  ตั้งใจทำงานด้วยความเสียสละ  เป็นผู้ให้ไม่เรียกร้องผลประโยชน์เพื่อการตอบแทน  พูดจูงใจ  สามรถสร้างแรงศรัทธาให้เกิดขึ้นได้  และสามารถทำให้ชาวบ้านที่ต่างความคิดให้มีการประสานความคิด  ประสานจิตใจ   ทำงานร่วมกัน และร่วมกันพัฒนาจนเกิดความสำเร็จ  เช่น ตั้งแต่ครูใหญ่เข้ามาไม่มีใครยอมรับ แต่สร้างศรัทธาในเวลาต่อมาได้ สร้างแรงจูงใจ  ทำงานด้วยความตั้งใจ และสามารถทำให้ทุกคนร่วมมือกันพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน และทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ข้อ 8. นักศึกษาคิดว่า ประชาชนในพื้นที่มีแรงจูงใจต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง สาเหตุเป็นเพราะอะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย

ตอบ  เห็นความตั้งใจแน่วแน่ของครูใหญ่และสร้างแรงศรัทธาในตอนแรกที่จะพัฒนาโรงเรียนและสร้างโรงเรียนใหม่ พัฒนาชุมชมให้ดีขึ้น  ทั้งที่ชุมชนแห่งนี้ไม่ได้เป็นบ้านเกิดของครูใหญ่ แต่ครูใหญ่ก็ยังทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจให้กับการพัฒนาชุมชน  เช่นในตอนแรกที่เข้ามามีคนไม่ยอมรับ และคิดสร้างโรงเรียนแต่ครูใหญ่ก็จะไม่ท้อ ตั้งใจทำต่อไป ทำงานหนักจนเป็นลมไม่หวังผลตอบแทน จนทำให้ทุกคนเห็นความพยายาม และมีจิตใจที่เข้าใจและช่วยเหลือร่วมมือกันพัฒนาในที่สุด

ข้อ 9. นักศึกษาคิดว่า ได้เกิดการเรียนรู้อะไรจากการชมวีดิทัศน์ ในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำทางการศึกษา

ตอบ การเป็นผู้นำทางการศึกษาจะต้องมีจุดยืนที่แน่วแน่ตั้งใจ มีอุดมการณ์ทีแน่นอน พร้อมที่จะพัฒนา  ไม่ใช่การสั่งให้ผู้อื่นทำตามแต่เพียงอย่างเดียว  แต่ผู้นำต้องเป็นผู้ที่ลงมือกระทำให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ทุกคน ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  รับฟัง เข้าใจ พร้อมที่จะพัฒนา ไม่เห็นแก่ตัว  เมื่อผู้นำดี ผู้ตามก็ย่อมทำตามในสิ่งที่ดีและทุกสิ่งอย่างก็จะประสบความสำเร็จได้

******************************

 

โรงเรียนขนาดเล็ก นี่คือโรงเรียนของเรา – Human Scale Schools-This is Our School

http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=123

การบริหารจัดการโรงเรียนหรือบริหารจัดการในชั้นเรียน ต่างประเทศ ในโครงการโทรทัศน์ครู

เรื่อง โรงเรียนขนาดเล็ก นี่คือโรงเรียนของเรา – Human Scale Schools-This is Our School

โรงเรียนบิชอฟ พาร์ค ที่เมืองแคล็กตัน ออนซี ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน นักเรียนจำนวนมากของโรงเรียนนี้อยู่ในความดูแของรัฐโดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนคือ ไมค์ เดวิส มีการเริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อ5ปีที่แล้ว และได้พัฒนาวิธีการจัดการศึกษา ทำให้โรงเรียนขนาดใหญ่ดำเนินการแบบโรงเรียนขนาดเล็กได้ ซึ่งประกอบด้วย 3 โรงเรียนย่อยคือเทาเวอร์ส ไลท์เฮาส์ และวินด์มิลด์

โรงเรียนจะแบ่งบุคลากรและนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มดูแลนักเรียนของตนเองซึ่งมีมากที่สุด 300 คน มีแนวคิดโดยการจัดการสอนให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน รู้จักเด็กดี เข้าใจเด็ก สร้างบรรยากาศให้มีเป้าหมายแต่ต้องไม่เครียด แต่จะทำได้ต่อเมื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสร้างกลุ่มครูขึ้นในรูปแบบที่สมเหตุสมผล

สำหรับในชั้น ม.ต้น ครูและนักเรียนของทั้ง 3 โรงเรียนจะทำโครงงานสัปดาห์ละ 4 วัน และจะแยกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อเข้าชั้นเรียนเข้มข้นในวันศุกร์ ซึ่งบุคลากรทั้ง 3 โรงเรียนจะมีการประชุมทำความเข้าใจในเรื่องข้างต้นร่วมกัน

โรงเรียนจะจัดชั่วโมงพบครูประจำชั้นระหว่างสัปดาห์ เพื่อให้ครูได้ทำความรู้จักนักเรียนที่ตัวเองดูแล ได้รู้จักนักเรียนมากขึ้น แล้วมีการตั้งคำถามกับครู สร้างความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน การจัดการชั้นเรียนที่ดี คือ

–    ครูจัดบรรยากาศชั้นเรียนที่ต้องดึงดูดความสนใจให้ได้ตั้งแต่ครั้งแรก และตลอดการเรียน เพื่อไม่ให้ชั้นเรียนน่าเบื่อ เช่นมีการนำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจ

–    ตั้งคำถาม ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ร่วมกัน มีการเชื่อมโยงเรื่องจากประสบการณ์เดิม ก่อนเข้าสู่การเรียนรู้

–    ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเอง และถ่ายทอดผลงานผ่านวิธีการนำเสนอต่างๆที่น่าสนใจ

–    สร้างความสนุกเพลิดเพลิน และช่วยกันสร้างบรรยากาศในการเรียนให้ยอดเยี่ยมและประทับใจ

–    หากเด็กมีปัญหาในการเรียน ให้เข้าใจเด็ก และรับฟังปัญหาโดยเด็กสามารถคุยกับใครก็ได้ตามใจ ตั้งแต่ผู้ช่วยครูไปจนถึงครูใหญ่ เป็นความสัมพันธ์แบบที่เป็นลำดับขึ้น

–     สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กใจให้กับเด็กเสนอออกมาว่า เขาสนใจเรื่องอะไร สนับสนุนให้เข้าใจแนวทางและก้าวไปสู่จุดหมาย

–     มีการบูรณาการเข้าด้วยกันได้

–     มีการติดต่อสื่อสารที่ดี มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

–     การสรุปบทเรียนมีสังเกตพฤติกรรมเด็ก ประเมินผล

หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของครูต้องช่วยให้นักเรียนคิดว่าการเรียนยังคงดำเนินต่อไปหลังจาก 15.OO น. ของวันศุกร์ต่อไปจนถึงวันสุดท้ายของสัปดาห์ด้วย เป็นการทำให้เด็กๆ ใช้ชีวิตอย่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่ใช่เป็นเพียงนักเรียนระหว่างวันจันทร์ถึงศุกร์

ในบางครั้งครูไม่ได้ใช้เวลากับเด็กเต็มที่ในชั่วโมงเรียน แต่นอกห้องเรียนในเวลาอาหารกลางวันหรือตอนพัก ครูสามารถพูดคุยกับได้ ทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นคนพิเศษและคนสำคัญของเรา สุดท้ายแล้วนักเรียนทุกคนจะรู้สึกว่าเขามีความสำคัญต่อครู บรรดาครูก็มีความสำคัญต่อพวกเขามาก เด็กหลายคนจะกล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ครูจะรู้จักพวกเขาดี รู้เวลาทำผิด ทำดี หรือแม้แต่กระทั่งโกหก

การมีโรงเรียนย่อย 3 แห่ง ช่วยให้พัฒนาความสัมพันธ์กับครูได้อย่างใกล้ชิด แต่ก็มีข้อด้อยเช่นกัน ครูในโรงเรียนย่อยแต่ละแห่งต้องร่วมรับผิดชอบ ดูแลการสอนทั้งหลักสูตร

ครูจะต้องสอนนักเรียนทุกวิชาที่ใครๆ คิดว่าควรสอน ครูทุกคนมีทักษะพื้นฐานหลักๆอยู่ ไม่ว่าจะด้านมนุษย์วิทยา สังคม บุคคล เป็นการศึกษาระดับสูงสามารถถ่ายทอดต่อได้

แคท วอลลิส ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนนักเรียนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ กล่าวว่า บางครั้งเราเรียนรู้บทเรียนที่ดีที่สุดได้จากชั้นพื้นฐาน คือสิ่งที่โรงเรียนนี้พยายามสร้างในหลักสูตรแบบเน้นประเด็นหลักของ ม.ต้น ไม่ใช่เพียงกลุ่มสาระนั้นๆ ต้องไม่แยกทุกสิ่งออกจากกัน แต่ต้องศึกษาประเด็นหลักๆ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนคำนึงถึงโลกที่อาศัยอยู่ และเชื่อว่าการสอนแบบนี้ใช้ได้ผล

การเป็นครูที่บิชอฟ พาร์ค  มีความลำบากอย่างเดียวของการสอนคือไม่มีทางลาออกได้ แต่ละสัปดาห์จะมีวันหนึ่งที่นักเรียนของโรงเรียนทำกิจกรรมชมรม เพื่อเปิดโอกาสให้ครูได้ทำกลุ่มพัฒนาทักษะกลุ่มครู ชมรมเหล่านี้ดำเนินการโดยผู้เชียวชาญภายนอก

ความสำเร็จข้อหนึ่งของโรงเรียน คือ ไม่มีเด็กตั้งครรภ์ในวัยเยาว์มาตลอด 5 ปี และไม่มีใครโดนไล่ออก แนวทางนี้ทำให้การบริหารคล่องตัว เด็กๆ และครู มีความใกล้ชิดกันมากและวิสัยทัศน์ที่ ไมค์ เดวิส ผู้อำนวยการโรงเรียนวางไว้ เพื่อนักเรียนยังคงชัดเจน คือ ต้องการคนที่จะเป็นพ่อหรือแม่ที่ดี คนที่จะเป็นเพื่อนบ้านที่ดี คนงานที่ดี ผู้นำที่ดี คนอุปนิสัยดี สามารถยอมรับความแตกต่างและอดทน มีความกระตือรือร้น มีส่วนร่วมในประชาธิปไตย และมีความหวังเสมอว่า วันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้ และทุกคนสามารถร่วมมือกันสร้างวันพรุ่งนี้ให้เกิดขึ้นได้

การบริหารจัดการโรงเรียน

รูปภาพ

ชื่อ-สกุล นางสาวอริสา ล่องจ๋า

ชื่อเล่น ดี้

เกิดวันอาทิตย์ ที่1 พ.ย.2535

ที่อยู่ 316 ม.2 ต.กำแพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80280

เคยศึกษาที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช

ปัจจุบันกำลังศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

รหัสนักศึกษา 5411101001

สีที่ชอบ สีส้ม สีเขียว

คติ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

E-mail : doodee_loveyou@hotmail.com

doodee01loveyou@gmail.com