“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” กับการจัดการศึกษา

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า “เข้าใจ  เข้าถึง และพัฒนา”  ถือว่าเป็นหัวใจของการทำงานเพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในฐานะข้าราชการ  หากพิจารณาแล้วมีความหมายที่ลึกซึ้งนัก กล่าวคือ

เข้าใจ หมายถึง ความเข้าใจแจ่มชัดในประเด็น จุดมุ่งหมาย ทิศทางของงานที่ทำ

เข้าถึง  หมายถึง การเข้าถึงปัจจัย เช่น องค์ความรู้ หลักคิดทฤษฎี แนวทาง ทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ของงานที่กำลังทำ

พัฒนา หมายถึง การลงมือกระทำ และหาทางต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้ดีขึ้น  สิ่งที่ต่อยอดนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ที่เป็นของตน ส่วนนี้ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่จะเปิดทางให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และต่อยอด

ถือว่าเป็นทฤษฎีการพัฒนาสู่ความยั่งยืนที่มีคุณค่ายิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริการจัดการศึกษาในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี  ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติคือครู

“หลายอย่างเปลี่ยน แต่บางอย่างไม่เคยเปลี่ยน”

   การที่มีกระบวนทัศน์หรือแนวคิด ที่ทำจนเคยชินยึดติด ที่ครูไม่เน้นคิดแต่เน้นจำ ไม่เน้นทำแต่เน้นท่อง ไม่เน้นทดลองผิดถูก เน้นแต่ปลูกฝังเชื่อไว ไม่เน้นนำไปใช้ “เรียนชีวิต” แต่หลงติดแยกส่วน “เรียนวิชา”  “เน้นเนื้อหาไม่เน้นกระบวนการเรียนรู้” ครูนักเรียนเรียนเดี่ยวไม่ร่วมมือ  หลักสำคัญที่เราต้องยึดถือปฏิบัติ ในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เหล่านี้คือ ปศพพ.พศ. ที่ต้อง เข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนา

Image

กระบวนทัศน์สำคัญที่สุดที่ต้องเปลี่ยนคือ “เรียนชีวิต ไม่ใช่เรียนวิชา”  โดยพิจารณา 3 อย่าง การพัฒนาการเรียนรู้ 3 ทางที่ต้องเชื่อมโยงสอดคล้องเข้าหากัน ได้แก่ การเรียนการสอนในห้องเรียน กิจกรรมเสริมในโรงเรียนสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และชีวิตจริงนอกโรงเรียน

ใส่ความเห็น