การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในห้องเรียน การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียน สถานศึกษา และการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

Image

 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS)

             ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง 

สารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
– ระบบสารสนเทศ
– ข้อมูลสารสนเทศ
– ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
– ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร
– องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้ง่านร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ    เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
       1. ระบบประมวลผล ความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือ ไม่สะดวก ช้า และอาจผิดพลาด ปัจจุบันองค์การจึงต้องทำการจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
       2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       3. การจัดการข้อมูล
ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสาร สนเทศโดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบสองประการแรก แต่ผู้ที่สนใจด้านการจัดการข้อมูล (Data/Information Management) จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่สาม ซึ่งมีความเป็นศิลปะ ในการจัดรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ ในการประมวลผล การจัดเก็บ การสื่อสาร และการส่งผ่านสารสนเทศด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนทศ ทั้งภายในและภายนอกระบบ ให้สามารถดำเนินร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ

ข้อมูล และสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน  หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว  อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้   สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ  แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย    สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 

คุณสมบัติของข้อมูล

        การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ  หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์  องค์การจำเป็นต้องลงทุน  ทั้งในด้านตัวข้อมูล  เครื่องจักร  และอุปกรณ์  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ  เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้  และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง  สามารถดำเนินการได้  ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน  ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี  ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน  ดังนี้
            1. ความถูกต้อง  หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก  ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิง  หรือนำเอาไปใช้ประโยชน์  ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ  และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้  โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด  โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่  มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร  การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
            2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้  มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว  ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ  มีการออกแบบระบบการเรียนค้น  และรายงานตามผู้ใช้
            3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย  ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
            4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้  มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
            5. ความสอดคล้อง  ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ  ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ  ดูสภาพการใช้ข้อมูล  ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ

การบริหารจัดการในห้องเรียน

Image

Image

            การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขการจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. ความสะอาด ความปลอดภัย

2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น

3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม

4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่น ฯลฯ

5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น

6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการจัดการชั้นเรียน

1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอน ก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

2. เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการของมันเองและมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่บทเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่มวิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละคนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียน

3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียน สถานศึกษา

โครงการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา หมายถึง โครงการที่เป็นการจัดกิจกรรมอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา ให้ผู้เรียนมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม และปรับปรุงสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิพล

วัตถุประสงค์ของการทำโครงการเพื่อพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา

    1. พัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม

    2. พัฒนาความสามารถของผู้เรียนตามศักยภาพ โดยมุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม

    3.เข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เลือกตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

หลักการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    1.มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม

    2.จัดให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียนและวัฒธรรมที่ดีงาม

    3. บูรณาการวิชาการกับชีวิตจริง ให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรู้สึกสนุกกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียน

    4.ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ฝึกให้คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ จินตนาการที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง

    5.จำนวนสมาชิกมีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม

    6.มีการกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของสถานศึกษา

    7.ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา ถือเป็นหน้าที่และงาน ประจำโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

    8.ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรทั้งทางภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

    9.มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ขอบข่ายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย กิจกรรมแนะแนวและกิจกรรม นักเรียน ซึ่งสถานศึกษาสามารถแยกหรือบูรณาการไว้ด้วยกัน ก็ได้และสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบและวิธีการโดยมีขอบข่ายดังนี้

    1.เป็นกิจกรรมที่เกื้อกูล ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 8 สาระการเรียนรู้ให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้นในรูปแบบของการปฏิบัติตามโครงการ/โครงงาน ในลักษณะเป็นกระบวนการเชิงบูรณาการโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เป็นพื้นฐาน

    2.เป็นกิจกรรมที่สนองความสนใจ ความต้องถนัด ความต้องการของนักเรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลในลักษณะชมรม ชุมนุม กลุ่มสนใจ เน้นการให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวิชาความรู้ อาชีพ และการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ

    3.เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ สังคมในลักษณะต่างๆ ให้สามารถจัดการกับชีวิตและสังคมได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่านิยมในความดีงาม มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรมตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    เป้าหมายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    1.ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดความรู้ ความชำนาญ ด้านวิชาการ วิชาชีพและเทคโนโลยี

    2.เห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้และประสบการณ์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และประกอบอาชีพสุจริต

    3.รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีกระบวนการคิดมีทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและมีความสุข

    4.ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง มองเห็นช่องทางในการสร้างงาน อาชีพในอนาคตได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

    5.พัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ ค่านิยมที่ดีในการดำเนินชีวิต เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม

    6.มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ตลอดจนความเป็นระเบียบวินัย คุณธรรมและจริยธรรม

 

 

 การศึกษาเพื่อชุมชน

Image

    “การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน”   เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของประชาชนในการแสวงหาความรู้ สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักการจัดการความรู้ และการวิจัยชุมชนบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรวม ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์  และทักษะอาชีพ  เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง  มีความเอื้ออาทรต่อกัน  และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาชุมชน

            การพัฒนาชุมชนเป็นวิธีการแก้ปัญหาสังคมที่ประเทศต่าง ๆได้นำมาใช้จนประสบผลสำเร็จมาแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่จะยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพของคนให้เกิดการพัฒนา อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ ดังนี้

                  ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาชุมชนส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

                                   – ช่วยยกระดับการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น

                                   – ช่วยแก้ปัญหาการว่างงาน

                                   – ส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

                                   – ลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรายได้ของประชาชน

                                   – ทำให้ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและประเทศชาติมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

                   ด้านสังคม การนำเอาวิธีการพัฒนาชุมชนเข้าไปใช้ ย่อมทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นดังนี้

                                   – ทำให้ประชาชนรู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น

                                   – ช่วยให้ประชาชนรู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยของครอบครัวดีขึ้น

                                   – สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นและลดช่องว่างความแตกต่างในเรื่องชนชั้นให้น้อยลง

                                   – ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมให้ดีขึ้น

                                   – ทำให้ประชาชนรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนและรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

                   ด้านความมั่นคงของประเทศ ในการพัฒนาชุมชนมีผลทำให้ประชาชนเข้าใจและไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ไม่หวังดีอีกต่อไป ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

                                    – เป็นการก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศในที่สุด

                                    – ทำให้ประชาชนเกิดความรักความเข้าใจในรัฐบาลและประเทศชาติของตนมากยิ่งขึ้น

                                    – เป็นการขจัดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                                    – ทำให้ประชาชนเข้าใจการปกครองแบบประชาธิปไตย

                                    – เป็นการลดและป้องกันการแทรกซึมบ่อนทำลายของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะผู้ไม่ปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมือง โจรแบ่งแยกดินแดน เป็นต้น

 

 

ใส่ความเห็น